บทที่ 6 อินเตอร์เน็ต

ความหมายของอินเตอร์เน็ต อินเทอร์เน็ต (Internet) เป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขององค์กรธุรกิจ
หน่อยงานของรัฐบาล สถานศึกษา ตลอดจนเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเข้าด้วยกัน

ในปัจจุบันมีคนจากทั่วโลกนับพันล้านคนที่เข้าถึงบริการอินเทอร์เน็ต เช่น เวิลด์ไวด์เว็บ อีเมล์ (e-mail) พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
(e-commerce) ห้องคุย (chat room) การส่งสารทันที (instant messaging) และวอยซ์โอเวอร์ไอพีหรือวีโอไอพี (Voice over IP: VoIP)


โครงสร้างพื้นฐานของอินเทอร์เน็ต ประกอบด้วยเครือข่ายระดับท้องถิ่น ระดับภูมิภาค ระดับชาติ และระดับนานาชาติที่เชื่อมโยงเข้าด้วยกัน



การเข้าถึงอินเทอร์เน็ต ผู้ใช้ที่เป็นคนทำงาน นักเรียน หรือนักศึกษา มักจะเข้าถึงอินเทอร์เน็ตผ่านเครือข่ายของหน่วยงาน โรงเรียนหรือ

มหาวิทยาลัย ซึ่งเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง



- ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต หรือไอเอสพี (Internet Service Provider: IPS) ให้บริการเชื่อมต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ตสำหรับผู้ใช้
โดยอาจคิดค่าบริการเป็นรายเดือน



การติดต่อสื่อสารบนอินเทอร์เน็ต คอมพิวเตอร์ที่ติดต่อสื่อสารระหว่างกันบนอินเทอร์เน็ต มีคุณลักษณะที่แตกต่างกัน
การที่อินเทอร์เน็ตสามารถเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ที่มีความแตกต่างกันให้สามารถทำงานร่วมกันได้ เนื่องจากใช้โพรโทคอลเดียว
กันในการสื่อสารเรียกว่า ทีซีพี/ไอพี (Transmission Control Protocol: TCP/IP)



เลขที่อยู่ไอพี

เครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมกันอยู่บนอินเทอร์เน็ต จะมีหมายเลขอ้างอิงในการติดต่อสื่อสาร เรียกว่า เลขที่อยู่ไอพีแอดเดรส (IP address)

ระบบชื่อโดนเมน

เนื่องจากเลขที่อยู่ของไอพีอยู่ในรูปของชุดตัวเลขซึ่งยากต่อการจดจำและอ้างอิงระหว่างการใช้งานดังนั้นจึงกำหนดให้มีระบบชื่อโดเมน
(domain Name System: DNS)



ส่วนประกอบสุดท้ายในชื่อโดเมนเรียกว่า ชื่อโดเมนระดับบนสุด (top-level domain name) ใช้สำหรับแยกกลุ่มของชื่อโดเมน
ในกรณีที่ชื่อโดเมนระดับบนสุดเป็นชื่อโดเมนสากล

เวิลด์ไวด์เว็บ



เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web) หรือเรียกสั้นๆว่าเว็บ เป็นการให้บริการข้อมูลแบบไฮเปอร์เท็กซ์ (hypertext) ที่ประกอบไปด้วย
เอกสารจำนวนมากที่มีการเชื่อมโยงกัน สำหรับคำที่เกี่ยวข้องกับเวิลด์ไวด์เว็บที่ควรทราบ เช่น

- เว็บเพจ (Web page)

- เว็บไซด์ (Web site)

- เว็บเซิร์ฟเวอร์ (Web server)

การเรียกดูเว็บ เว็บเบราว์เซอร์ (Web browser)

เป็นโปรแกรมสำหรับแสดงเว็บเพจ และสามารถเชิ่มโยงไปยังส่วนอื่นในเว็บเพจเดียวกันหรือเว็บเพจอื่นผ่านการเชื่อมโยงหลายมิติ
หรือไฮเปอร์ลิงค์ (hyperlink) เรียกสั้นๆว่า ลิงค์ (link)



ที่อยู่เว็บ ในการอ้างอิงของแหล่งข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตที่ผู้ใช้ขอร้อง เช่น เว็บเพจ สามารถทำได้โดยการระบุยูอาร์แอล
(Uniform Resource Locator: URL)



ซึ่งมีรูปแบบดังนี้

- โพรโทคอล

- ชื่อโดเมน

- เส้นทางเข้าถึงไฟล์

- ชื่อข้อมูล

การค้นหาผ่านเว็บ

โปรแกรมค้นหา หรือเสิร์ชเอนจิน (search engines) ใช้สำหรับค้นหาเว็บเพจที่ต้องการโดยระบุคำหลักหรือคำสำคัญ (keyword)

เว็บเพจที่มีความเกี่ยวข้องกับคำหลักมากที่สุดจะอยู่ในอันดับบนสุด ตัวอย่างโปรแกรมค้นหา เช่น Ask, AltaVista, Bing, Excite,
Google และ Yahoo



ตัวดำเนินการในการค้นหา เพื่อให้การค้นหาด้วยโปรแกรมค้นหาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ใช้สามารถใช้ตัวดำเนินการในการค้นหา
(search engine operators)

เว็บ 1.0 และเว็บ 2.0

เว็บ 1.0 (Web 1.0) เป็นเว็บในยุคแรกเริ่มที่มีลักษณะให้ข้อมูลแบบทางเดียว ผู้ใช้ทั่วไปเข้าถึงเว็บเพจในฐานะผู้บริโภคข้อมูลสารสนเทศ
ตามที่ผู้สร้างได้ให้รายละเอียดไว้เพียงอย่างเดียวไม่ค่อยมีการปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัย และมีรูปแบบใช้งานไม่หลากหลาย

ต่อมามรการพัฒนาเทคโนโลยีที่สนับสนุนในการใช้อินเทอร์เน็ต ทำให้ผู้ใช้ทั่วไปสามารถเป็นส่วนหนึ่งของผู้ให้ข้อมูลในรูปแบบต่างๆที่ปรากฏ
บนเว็บเพจ เช่น การโพสต์ข้อความ รูปภาพวีดิทัศน์ ความคิดเห็น การจัดลำดับ ด้วยความแตกต่างที่พบได้เหล่านี้ จึงได้มีการเรียกเว็บประเภทนี้
ว่าเว็บ 2.0 (Web 2.0)

ลักษณะเด่นที่พบในเว็บ 2.0 ที่แตกต่างจากในเว็บ 1.0 เช่น มีการสร้างเครือข่ายทางสังคมผ่านเว็บไซด์ มีการพัฒนาความร่วมมือแบบออนไลน์
มีหารแบ่งบันข้อมูลและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเห็นระหว่างผู้ใช้ผ่านอินเทอร์เน็ต

บริการอินเทอร์เน็ต

เทคโนโลยีหรือบริการต่างๆบนอินเทอร์เน็ต

ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรืออีเมล (e-mail) เปรียบเสหมือนกับเป็นที่อยู่ที่ใช้รับและส่งจดหมาย

มารยาทของการสื่อสารผ่านอีเมล์
1. ใช้หัวเรื่องที่สรุปสาระสำคัญของเนื้อหาในอีเมล
2. เขียนเนื้อหาให้มีสาระในการสื่อสารที่ชัดเจน
3. เขียนข้อความให้กระชับ ไม่เยิ่นเย้อ เหมาะสมกับกาลเทศะ และลงชื่อผู้เขียนทุกครั้ง
4. ใช้ bcc ในการระบุผู้รับ เมื่อส่งข้อความถึงผู้รับจำนวนมาก เพื่อปกป้องความเป็นส่วนตัวของผู้รับที่ระบุในbcc
5. อย่าใช้อักษรภาษอังกฤษตัวพิมพ์ใหญ่ ซึ่งแสดงถึงการตะโกน หรือการข่มขู่ผู้อ่าน
6. จัดระเบียบข้อความเป็นย่อหน้าเพื่อสะดวกต่อการอ่าน
7. ใช้ภาษาที่เหมาะสมและตัวสะกดที่ถูกต้อง
8. ใช้การตอบกลับ (reply) แทนการเขียน (compose)ข้อความใหม่ เพื่อให้สามารถติดตามเรื่องราวของอีเมลที่เกี่ยวข้องกันได้สะดวก
9. ใช้การตอบกลับไปยังทุกคน (reply all) เมื่อจำเป็น เพื่อไม่ให้เป็นการรบกวนผู้อื่นที่ไม่เกี่ยวข้องในการตอบอีเมลนั้น
10. ใช้อักษรตัวย่อ หรือสัญรูปอารมณ์ที่ไม่ฟุ่มเฟือยจนเกินไป และคาดหวังว่าผู้รับสามารถเข้าใจได้



การสื่อสารในเวลาจริง (real-time communication)ตัวอย่างการสื่อสารในเวลาจริง เช่น การแชท ห้องคุย และวอยซ์โอเวอร์ไอพี

แชท (chat) เป็นการสนทนาผ่านอินเทอร์เน็ต ทั้งระหว่าง 2 บุคคล หรือระหว่างกลุ่มบุคคล



ห้องคุย (chat room) เป็นการสนทนาที่ผู้ใช้สามารถเลือกประเภทของหัวข้อที่สนใจซึ่งแบ่งเป็นหัวข้อต่างๆ



วอยซ์โอเวอร์ไอพี หรือวีโอไอพี (Voice over IP: VoIP) เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อินเทอร์เน็ตเทเลโฟนี (Internet telephony)



เว็บไซต์เครือข่ายทางสังคม (social networking Web Sites) ตัวอย่างเว็บไซด์หรือเครือข่ายทางสังคม เช่น facebook, myspace, Linkedin, และ GotoKnow

บล็อก (Blog)ตัวอย่างของบล็อก เช่น Blogger, GoogleBlog และBLOGGANG

ไมโครบล็อก (microblog) ตัวอย่างไมโครบล็อค เช่น twitter, yammer, Jaiku, และ tumble

วิกิ (wiki) ตัวอย่างวิกิ เช่นWikipedia, WIKIBOOKS

อาร์เอสเอส (Really Simple Syndication: RSS) เป็นเทคโนโลยีใช้สำหรับเผยแพร่ข้อมูลที่ถูกปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เป็นประจำได้แบบอัตโนมัติ

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (electronic commerce หรือ e-commerce) ตัวอย่าง เช่น การซื้อสินค้าบนอินเทอร์เน็ต

ขณะใช้งานบนอินเทอร์เน็ต มักมีโปรแกรมไม่พุงประสงค์แฝงมากับข้อมูลที่อยู่บนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โปรแกรมลักษณะนี้เรียกว่า

มัลแวร์ (malware) เป็นโปรแกรมที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทำลาย หรือรบกวนระบบคอมพิวเตอร์ โดยแบ่งออกได้หลายชนิด เช่น

- ไวรัส (virus)

- เวิร์ม (worm) หรือหน้าจอคอมพิวเตอร์

- ม้าโทรจัน (Trojan horse)

- สปายแวร์ (spyware)

- แอดแวร์ (adware)

- สแปม (spam)

ผลกระทบจากการใช้อินเทอร์เน็ต

บริการอินเทอร์เน็ตมีการพัฒนาให้มีรูปแบบการใช้งานที่หลากหลาย ผู้ใช้สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
สามารถเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ทั้งเพื่อการศึกษา การทำงาน ความบันเทิง หรือเพื่อตอบสนองความสนใจอื่นๆ

ไม่มีบทความ
ไม่มีบทความ